ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง
ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรืออาจเรียกว่า “
โปรแกรม ” ก็ได้
ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน สำหรับการเขียนโปรแกรมภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ
หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล
ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น
โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ชนิดของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่
ๆ ได้ ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด
ดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software)หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงาน ดังนี้
1.1ระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแต่ด้วยเครื่องได้คอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแต่ด้วยเครื่องได้คอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการปฏิบัติการ
1.ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System
C:\>copy C:\mydocument\data.doc A:\myfile
คำสั่งนี้เป็นการใช้คำสั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูลชื่อ data.doc ที่อยู่ใน Drive C Folder mydocument เอาไปไว้ที่ Drive A ใน Folder myfile
3. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
(Microsoft Windows) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟิก
นอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน
เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล เป็นต้น
จึงทำให้ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์อย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0, 3.1, 3.11, Windows 95, 98, ME, Windows NT,
2000, XP, Vista, Seven
บริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ (Version) อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
4.ระบบปฏิบัติการโอเอสทู
(OS2)
เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดวส์แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ
บริษัทไอบีเอ็มเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ความสามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
5. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์(LINUX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยนักศึกษาชื่อว่า
“Linus
Torvalds” จากประเภทฟินแลนด์ LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ
UNIX แต่มี ขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่า
ในช่วงแรกของการพัฒนา LINUX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และพัฒนาขึ้นมาเพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้นจึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น
ๆ ของ LINUX เพื่อเพิ่ม
ความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่าย และผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย
มีรายละเอียดเพิ่มเติม
1.2ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์(UtilitySoftware)
เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนเพิ่มหรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมอรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เช่น
เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนเพิ่มหรือขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรมอรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เช่น
· Uninstaller เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำการติดตั้งไว้ในระบบ
เมื่อผู้ใช้ทำการติดตั้งโปรแกรม
ระบบปฏิบัติการจะทำการบันทึกโปรแกรมนั้นไว้ในระบบไฟล์ หากผู้ใช้ต้องการลบโปรแกรมนั้นออกจากเครื่องก็สามารถใช้
เครื่องมือยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมได้
· Disk Scanner เป็นเครื่องมือตรวจสอบดิสก์
เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์
ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการซ่อมส่วนที่เสียหายได้
· ฯลฯ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
• ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) หรือซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้ เพื่อใช้ในการทำงานทั่วไป
• แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม–ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน –ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน
• ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน (basic application)
หรือบางครั้งเรียกว่า ซอฟต์แวร์ประยุกต์เอนกประสงค์ (general-purpose)
หรือ ซอฟต์แวร์ช่วยเพิ่มผลผลิต (productivity applications)
• ตัวอย่างเช่น –โปรแกรมประมวลผลคำ
–โปรแกรมตารางทำการ–โปรแกรมนำเสนอ–โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
โปรแกรมประมวลผลคำ
• ใช้ในการสร้างงานเอกสารที่เป็นตัวอักษรและภาพ–บันทึก จดหมาย และแผ่นพับ–จดหมายข่าว คู่มือ
และใบปลิว•ตัวอย่างโปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้
– Microsoft Word
– Corel WordPerfect
คุณลักษณะของโปรแกรม
1.
•สมุดงาน (workbook)
2.
•แผ่นงาน (worksheet)
3.
•แผ่นตารางทำการ (sheet)
4.
•สูตร (formula)
5.
•ฟังก์ชัน (function)
6.
•กราฟ (graph) หรือ แผนภูมิ
(chart)
โปรแกรมนำเสนอ
• โปรแกรมสำหรับสร้างงานนำเสนอที่มีลูกเล่นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ•ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้
– Microsoft PowerPoint
– Corel Presentations
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (specialized
application) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้สำหรับงานเฉพาะและสำหรับกลุ่มสาขาอาชีพนั้น
ๆ
ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการภาพกราฟิก
• ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการภาพบิตแมพ
– ภาพบิตแมพ (bitmap) เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากจุดจำนวนมากที่เรียกว่า พิกเซล (pixel)
– บางครั้งเรียกภาพบิตแมพนี้ว่า
ภาพราสเตอร์ (raster image) –ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้
• Microsoft Paint
• Adobe Photoshop
• Corel PhotoPaint
• Paint Shop Pro
ซอฟต์แวร์สร้างเว็บไซต์
• บริษัทต่างๆ ใช้เว็บไซต์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น
• บุคคลต่างๆ เริ่มมีเว็บไซต์ส่วนตัว
เพื่อใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้แก่กลุ่มเพื่อนและครอบครัวได้ทราบ เรียกว่า
เว็บล็อก (web log) หรือ บล็อก (blog)
· สามารถแบ่งซอฟต์แวร์สร้างเว็บไซต์ออกเป็น 2 ส่วน–ส่วนการออกแบบ,ส่วนการสร้างเว็บเพจ
ความเป็นจริงเสมือน
• จำลองความเป็นจริงในรูปแบบ 3 มิติ
โดยใช้คอมพิวเตอร์
• เรียกกันโดยทั่วไปว่า วีอาร์ หรือ
ความเป็นจริงประดิษฐ์ หรือสภาพแวดล้อมเสมือน
• ภาษาวีอาร์เอ็มแอล (VRML) –ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวแอนนิเมชัน
3 มิติแบบเรียลไทม์
– โปรแกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีโปรแกรมหนึ่งคือ
Cosmo Worlds ของบริษัทคอสโมซอฟต์แวร์
ข้อควรคำนึงในการใช้ซอฟต์แวร์
-วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- ลิขสิทธิ์ คือ สามารถติดตั้งและใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านั้นได้หรือไม่เนื่องจากซอฟต์แวร์ทุกประเภทจะมีสิทธิ์ในการใช้ที่แตกต่างกัน
ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
- สิทธิ์ในการใช้งาน
มีดังนี้
ซอฟต์แวร์ที่ถูกเรียกว่าเป็น
“ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (Commercial
Software)” หรือ “License software” เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย
หรือมีจุดประสงค์เพื่อเชิงการค้า ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows, ระบบปฏิบัติการ Mac OS X, Microsoft Office, โปรแกรมของบริษัท
Adobe เช่น Photoshop เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ที่ถูกเรียกว่าเป็น “แชร์แวร์ (Shareware)”
เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ที่มีความสามารถครบถ้วนหรืออาจจะตัดความสามารถบางส่วนออกไป หรือจำกัดจำนวนข้อมูลในการใช้งานโดยสามารถนำไปทดลองใช้งานได้ในระยะเวลาที่กำหนด
หากต้องการสามารถชำระเงินได้
ซอฟต์แวร์ที่ถูกเรียกว่าเป็น “Freeware”
เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ที่ถูกสร้างขึ้น
และสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ไม่สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้
ซอฟต์แวร์ที่ถูกเรียกว่าเป็น “ซอฟต์แวร์เสรี (Free Software)” หรือจะเรียกอีกชื่อว่า “Open-source software”
ซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา
และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยหลักการหรือเหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้
ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลง
และเผยแพร่ซอร์สโค้ด (หมายถึงรหัสที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Linux, OpenOffice.org,
Firefox, PHP, GIMP, Kompozer (สร้างเว็บเพจ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น