วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และ อุปกรณ์อื่นๆ

·  ความหมายของคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์
         ความหมายของคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม
ที่มา : http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page11.htm

        ความหมายของฮาร์ดแวร์ คือ  ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่ สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://pe-peerapon.blogspot.com/2012/04/hardware.html

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1.    ฮาร์ดแวร์     2.    ซอฟแวร์     3.    บุคลากรคอมพิวเตอร์    4.    ข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ หน่วยรับเข้า (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก (main memory unit) หน่วยความจำรอง (secondary storage unit) และหน่วยส่งออก (output uint) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกันดังรูป



        หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลอาจส่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลได้โดยตรงโดยอุปกรณ์รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้ามาให้อยู่ในรูปของรหัส แล้วส่งไปยังหน่วยความจำเพื่อเตรียมทำการประมวลผลต่อไป
       อุปกรณ์รับเข้าในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำเข้าข้อมูลที่ต่างๆ กัน เราอาจแบ่งประเภทของอุปกรณ์รับเข้าตามลักษณะการรับข้อมูลเข้าได้ดังนี้
·    อุปกรณ์รับเข้าแบบกด เช่น แผงแป้นอักขระ
·    อุปกรณ์รับเข้าแบบชี้ตำแหน่ง เช่น เมาส์
·    อุปกรณ์รับเข้าระบบปากกา เช่น ปากกาแสง
·    อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส เช่น จอสัมผัส
·    อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง
·    อุปกรณ์รับเข้าแบบจดจำเสียง เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียง
หน่วยประมวลผลกลาง
  หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง
          หน่วยประมวลผลกลางเป็นวงจรไฟฟ้าหน่วยสำคัญที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยควบคุม (Control Unit : CU) และหน่วยคำนวณและตรรกะหรือเอแอลยู (Arithmetic and Logic Unit : ALU)


หน่วยความจำหลัก
       หน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งในระหว่างการประมวลผลและมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลางนำข้อมูลมาเก็บและเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว


  จากรูป เมนบอร์ดประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
       1. พอร์ตต่อเชื่อมกับอุปกรณ์รอบข้าง พอร์ต (port) เป็นช่องสำหรับต่อเข้ากับหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผล รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนทั้งหลาย อาจเป็นแผงแป้นอักขระ เมาส์ เครื่องพิมพ์ ในปัจจุบันพอร์ตที่มีการใช้อยู่ ได้แก่ พอร์ตแบบอนุกรม (serial port) พอร์ตแบบขนาน (parallel port) และยูเอสบี (USB port) ซึ่งเป็นพอร์ตที่กำลังมาแรงและปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชิ้นที่พัฒนาส่วนต่อพ่วงกับเมนบอร์ดให้เป็นแบบยูเอสบี
       2. สล็อต (slot) มีลักษณะเป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ เช่น แรม โมเด็ม แบบติดตั้งภายในหรืออุปกรณ์อื่นที่ช่วยขยายความสามารถในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์บนเมนบอร์ดประกอบด้วยสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
       2.1) สล็อตเสียบแรม เป็นตำแหน่งที่เสียบหน่วยความจำหลักแบบแรม โดยแรมที่จะนำมาเสียบลงในสล็อตนี้ต้องเป็นแบบที่สล็อตนี้รับได้เท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนหรือเพิ่มแรม ผู้ใช้ต้องศึกษาชนิดของแรมที่เข้ากับสล็อตเสียก่อน
       2.2) สล็อต PCI เป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการต่อเพิ่มเติมเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์เหล่านั้นจะได้รับการออกแบบในรูปของการ์ดสำหรับเสียบเพิ่มเติมตามต้องการ เช่น การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล โมเด็มแบบติดตั้งภายใน การ์ดสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายหรือการ์ดแลน
       2.3) สล็อต ISA เป็นช่องเสียบสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นเดียวกับสล็อต PCI สล็อต ISA เป็นรุ่นที่เก่ากว่าและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่มีสล็อตประเภทนี้แล้ว
       2.4) สล็อต AGP เป็นสล็อตสำหรับเสียบการ์ดแสดงผลความเร็วสูง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลทางจอภาพ
       3. ซ็อคเก็ต (socket) สำหรับเสียบซีพียู เป็นตำแหน่งที่เสียบซีพียูซึ่งจะต้องเป็นรุ่นที่เข้าได้รับเมนบอร์ดเช่นเดียวกับแรม
       4. ชิปเซ็ต (chipset) ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักของเมนบอร์ด และติดมากับเมนบอร์ดทุกชิ้นไม่สามารถแก้ไขได้ ชิปเซ็ตเป็นอุปกรณ์ที่กำหนดคุณสมบัติของเมนบอร์ดควบคุมส่วนประกอบต่างๆ เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดว่า แรม ซีพียู และอุปกรณ์ชนิดใดที่สามารถเข้ากับเมนบอร์ดได้ และมีขีดจำกัดในการขยายความสามารถเพียงใด ดังนั้นในการเลือกซื้อเมนบอร์ดผู้ซื้อต้องพิจารณาจากชิปเซ็ตนี้
       5. ขั้วต่อไอดีอี (IDE) เป็นขั้วสำหรับต่อสายส่งข้อมูลชนิด IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม เพื่อสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เหล่านั้นเข้ามาประมวลผล

หน่วยความจำรอง
        หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์
4.5.1 ฮาร์ดดิสก์
4.5.2 แผ่นบันทึก
4.5.3 ซีดีรอม
4.5.4 ดีวีดี
4.5.5 หน่วยความจำแบบแฟลช

หน่วยส่งออก
       คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผล หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์คือ จอภาพ (monitor) ลำโพง (speaker) และเครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกัน เพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
จะแบ่งออกเป็น หน่วยส่งออกชั่วคราว, หน่วยส่งออกถาวร

ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์
จอภาพ (Monitor)
          เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
           - จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ


                                                                       จอแบบ CRT

- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที



  จอแบบ LCD

เคส(case) คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน                                                                
          - IDE ( Integrated Drive Electronics)
     เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด



Harddisk แบบ IDE



IDE Cable
   - SCSI (Small Computer System Interface)
      เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง


Harddisk แบบ SCSI



SCSI controller
          - Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน


Harddisk แบบ Serial ATA



Serial ATA Cable
การ์ดแลน Network Card
            Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ Bus, Star, Ethernet, Ring, ATM, ISDN เป็นต้น
Network Card

สแกนเนอร์Scaner     
            Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan


ประเภทของคอมพิวเตอร์

      แบ่งตามความสามารถของระบบ จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

              3.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น



New supercomputer goes into operation at Research Centre Jülich

              3.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)    หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง


Mainframe Computer
              3.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ


Mini Computer

              3.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)   หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)   แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer

       

              Desktop Computer                                                             Notebook Computer

การหาข้อมูลและราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้จากส่วนต่างราคาระหว่างคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ศึกษาความต้องการของคุณเพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์ที่ไม่จำเป็นเพิ่มเติม เราสามารถช่วยคุณค้นหาพีซีที่เหมาะสำหรับคุณ ในขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ที่ลดราคามากเป็นพิเศษอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคุณเช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักเป็นรุ่นเก่าหรือใช้ส่วนประกอบราคาถูกหรือที่ล้าสมัย การจ่ายเงินมากกว่าจึงอาจทำให้คุณได้พีซีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก การเปรียบเทียบราคา การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ และพิจารณาความต้องการของตนเองจะทำให้คุณได้พีซีที่ลงตัวทั้งในด้านราคาและประสิทธิภาพในการทำงาน
ส่วนประกอบต่อพ่วงและซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่จำหน่ายพร้อมซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เมาส์และแป้นพิมพ์ ตรวจสอบกับร้านค้าก่อนจัดซื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์จำหน่ายพร้อมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดบ้าง จัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นและกำหนดงบประมาณให้ชัดเจนตามให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์หรือสายต่อเสริมตามความเหมาะสม คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำนักงานติดตั้งสำเร็จ ซึ่งคุณควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย
ส่วนประกอบของเครื่อง
ส่วนประกอบต่างๆ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ การติดตั้งโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุดโดยติดตั้ง RAM ไม่เพียงพออาจทำให้โปรแกรมทำงานช้ากว่าที่ควร ตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เคสบางแบบอาจอัพเกรดได้ยาก ศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากำลังเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ และสามารถอัพเกรดได้ในอนาคตหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ
รองรับการทำงานในอนาคต
การรองรับการทำงานในอนาคตในที่นี้หมายถึงการจัดซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่นขั้นสูงในอนาคต โดยปกติคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะมีราคาแพง ในระยะยาวขอแนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคามากที่สุด ในระยะยาวคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะคุ้มค่ามากกว่าการอัพเกรดทุก 6 เดือนหรือการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่

เงื่อนไขในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
      1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
      2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
      3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
      4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
      5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
            5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
          5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
      6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
      7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
          7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
          7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
          7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
          7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
          7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
          7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
          7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
      8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
      9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง

การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

       คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุง สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์  ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์


 1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย 1. ความร้อน    ความร้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของ
คอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด วิธีแก้ปัญหา
พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70  องศาฟาเรนไฮต์
ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
 2. ฝุ่น   ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจร
เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกนอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือฮาร์ดดิสค์  หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้ วิธีแก้ไข
ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
3. สนามแม่เหล็ก     แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสต์ก็สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมี
อยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
แม่เหล็กติดกระดาษบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
ไขควงหัวแม่เหล็ก
ลำโพง
มอเตอร์ในพรินเตอร์
• UPS วิธีแก้ไข
ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์