วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต

  ความหมาย โครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

     ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้า และบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรือร้านอาหารทั่วโลก
    ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เก็บอีเมล (e-mail) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instant messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีไอพี (Voice over IP: VoIP)  
โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ดังรูป อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอรืออพติกและคลื่นวิทยุ
   ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ้งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน้ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line: ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอรืเน็ตผ่านดาวเทียม
    สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอรืเน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไดโดยสะดวก ดังรูป


             ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider: ISP)  ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย  เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท ฆทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ
ที่มา : https://sites.google.com/site/dreampoi48/xinthexrnet
   อธิบายความหมายเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
             เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรีกีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง  ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้


เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
              เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

อธิบายวิธีการอ้างอิงที่อยู่เว็บ และวิธีการค้นหาผ่านเว็บ

          เท่าที่ค้นหาข้อมูลมาจะมีการอ้างอิงทั้งแบบไทย กับแบบสากล (อังกฤษ)แบบ ปัจจุบันมีการนำเนื้อหาจากเว็บไซต์ โดยเฉพาะจากไทยวิกิพีเดีย หรือเว็บที่มีลักษณะเดียวกันไปใช้อ้างอิงจำนวนมาก ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม รวมทั้งปริมาณการอ้างอิง คงต้องให้ทางครู อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข กติการการใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์เพื่อการอ้างอิงผลงาน แต่ประเด็นหนึ่งที่วิทย์ในเว็บให้ความสำคัญและกระทำได้คือ ผู้ที่ประสงค์นำเนื้อหาวิทย์ในเว็บหรือไทยวิกิพีเดีย หรืออื่นๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ไปใช้ ควรทราบถึงปัญหาการเ้ข้ารหัสภาษาไทยที่ผิดพลาดจากการคัดลอก URL ของเนื้อหา เช่น เมื่อนำเนื้อหาจากหน้า ประเทศไทยของไทยวิกิพีเดียไปอ้างอิงในเอกสารที่สร้างด้วย Word Processor และคัดลอก URL กำกับ มักจะปรากฏผลเป็น
ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น. EX.    พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
แบบสากล
ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์;.[screens (หน้า)]
[cited (ปี เดือน(ย่อ) วันที่เข้าถึง)] Available from(เข้าถึงได้ที่) : URL : ชื่อ URL.
Ex. Cancer-Pain.org [homepage on the Internet].New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01
[cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/
ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร
ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ
แหล่งที่มา URL   คือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืมใส่ (ออนไลน์). ด้วย
ปีที่พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้น  update   ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียนเอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet
วันเดือนปีที่สืบค้น  เพราะว่าบางทีมันค่อนข้างละล่มบ่อย ให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่
การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์นั้น มีมากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เราจะสืบค้น  ซึ่งเราจะสามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไป
1.การสืบค้นบทความ
หากเราต้องการหาข้อมูลที่เป็นบทความ เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย เห็นจะเป็นเว็บไซต์ google ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด หรือบางทีอาจจะมากกว่าห้องสมุดด้วยซ้ำ ซึ่งสามารถทำได้โดยการ พิมพ์สิ่งที่เราต้องการค้นหาลงไปในช่อง search ของทางเว็บไซต์ แล้วเว็บไซต์ทีเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราตอ้งการค้นคว้านั้น ก็จะมีมาให้เราเลือกมากมายเต็มไปหมด  แม้ว่าในเมืองไทย เว็บไซต์ google อาจจะได้รับความนิยมมากที่สุด  แต่ในต่างประเทศแล้ว ยังมีอีกเว็บไซต์ที่มีลักษณะเดียวกัน  ยกตัวอย่างเช่น yahoo , bing ก็เป็นลักษณะ web search  เช่นเดียวกัน เราเรียกว่า website ในลักษณะนี้ว่า web search engine
2. การสืบค้น video ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เว็บไซต์ที่สนับสนุนการแชร์ไฟล์วีดีโอ ให้แปลงผลเป็นการดูวีดีโอออนไลน์ ที่กำลังได้รับความนิมมากที่สุดขณะนี้ คงจะเป็นเว็บไซต์ youtube ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่เว็บไซต์นี้ยังได้รับความนิยมไปอีกทั่วโลก  หลายท่านอาจสงสัยว่า วีดีโอเหล่านั้นมาได้อย่างไร  วีดีโอเหล่านี้ เกิดจากสมาชิกในเว็บไซต์ (เพียงแค่เราสมัครเป็นสมาชิก เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกเว็บไซต์ได้แล้ว) ได้ upload  วีดีโอที่พวกเขาต้องการแชร์ให้คนอื่นๆได้ดู โดยไม่ปิดบัง  โดยทางเว็บไซต์มีข้อแม้ที่ว่า วีดีโอเหล่านั้น ต้องเป็นวีดีโอที่ถูกลิขสิทธิ์ เพียงเท่านี้ เราทุกคนก็สามารถแชร์วีดีโอให้ใครหลายๆคนดูได้แล้ว
วิธีการค้นหาไฟล์วีดีโอเหล่านั้น ต้องเริ่มต้นจากการเข้าเว็บไซต์ youtube  เสียก่อน แล้วมุมบนดานซ้ายของหน้าเว็บ จะมีช่องว่างให้ใส่สิ่งที่ต้องการค้นหาลงไป หลังจากกด search  แล้ว วีดีโอที่สอดคล้องกับข้อความที่ท่าน search ก็จะปรากฏขึ้น และสามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนได้ อีกแง่มุมนึ่งที่น่าสนใจ   แต่ข้อจำกัดของการใช้วีดีผ่านทางเว็บไซต์นั้น มีเพียงข้อเดียว คือต้องมีอินเตอร์เน็ต หากไม่มีอินเตอร์เน็ต วีดีโอเหล่านี้ก็จะไม่สามารถอัพโหลดขึ้นมาได้แต่ก็ไม่ใช่เพียงเว็บไซตื youtube  เท่านั้นที่ได้รับความนิยม  ยังมีเว็บไซต์ที่คอยแชร์ผลงานวีดีโอ ที่เกี่ยวข้อกับงานศิลปะโดยเฉพาะ อย่างเว็บไซต์ vimeo  ที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ด้วย
3.การสืบค้นความหมายของคำศัพท์ต่างประเทศ (ผ่านทางอินเตอร์เน็ต)
          มีเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ในปัจจุบัน ที่ทำหน้าทีเป็นเหมือน พจนานุกรม หรือ dictionary online เพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้แก่เรา ได้ค้นหาความหมายของศัพท์ที่เราไม่รู้จัก  ไม่ใช่เพียงแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีทั้งภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และอื่นๆอีกมากมาย เช่นเว็บไซต์ http://dict.longdo.com/  แต่หากเราอยากเลือกหลายเว็บไซต์เพื่อผ่านเป็นตัวเลือก เราสามารถค้นหาเว็บไซต์ผ่านทางเว็บ google ก็ได้ โดยการพิมพ์คำว่า dictionary  พร้อมภาษาที่ท่านต้องการ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะสามารถหาเว็บไซต์ทีเกี่ยวข้อกับการหาคำศัพท์เหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย
4.การสืบค้นรูปภาพ
google  นอกจากจะสนับสนุนการหาเว็บไซต์ต่างๆแล้ว  ยังสนับสนุนการหารูปภาพด้วย โดย google จะมีหัวข้อเฉาะสำหรับการหารูปภาพ ซึ่งอยู่ทางบนซ้าย  ว่า picture หรือรูปภาพ  ให้เราพิมพ์หัวรูปที่เราต้องการจะหาลงไปในช่อง search  แล้วคลิกคำว่ารูปภาพ  ภาพที่คุณต้องการหาก็จะขึ้นมาให้เลือกมากมาย พร้อมกับแหล่งที่มาของเว็บไซต์เหล่านั้น
5.การสืบค้นเนื้อหา ข้อมูล ผ่านทางเว็บบอร์
          เว็บบอร์ดนั้น เป็นลักษณะเว็บของการตั้งกระทู้เพื่อแสดงความคิดเห็น หากเราต้องการจะค้นคว้าหาข้อมูลใดๆใน web search engine ไม่เจอ  เราก็สามารถไปตั้งกระทู้ที่ผ่านทางเว็บบอร์ดเพื่อสอบถามความคิดเห็นกับเพื่อนๆในอินเตอร์เน็ตได้  หากผู้ผ่านเข้ามาอ่านกระทู้นั้น สามารถช่วยเหลือและตอบคุณได้  เขาก็จะตอบ และแสดงความคิดเห็นลงไป  การค้นคว้าหาข้อมูลแบบนี้ เราจำเป็นต้องคัดเลือก และใช้วิจารณญาณ เพราะคนที่มาตอบนั้น ต่างมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน มีทั้งถูกต้องและไม่ถูก เป็นเหมือนการสื่อสารกับเพื่อนในกลุ่ม ดังนั้น เราควรจะชั่งน้ำหนักความคิดเห็นเหล่านั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เราต้องการค้นหาได้ถูกต้องที่สุดซึ่งเว็บไซต์ที่เป็นลักษณะเว็บบอร์ดที่ไดรับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยคงจะเป็นเว็บไซต์ pantip  ที่ทางเว็บจะแบ่งหัวข้อการแสดงความคิดเห็นไว้อย่างชัดเจน มีตั้งแต่เรื่องบันเทิง ไปจนถึงเรื่องพระเครื่อง สามารถเข้าไปถามหรือแสดงความคิดเห็นได้ตามหัวข้อที่เราต้องการได้
ที่มา: http://thepeculiarja.wordpress.com/2012/07/07/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5/

อธิบายลักษณะของโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์

ไวรัส  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล
เวิร์ม  เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง
แอดเเวร์   เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่างป๊อปอัพ ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือค่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ ปฏิเสธการให้บริการส่ง” (Denial of Services)

โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์


วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่4 เครือข่ายและการสื่อสาร

บทที่ 4 เครือข่ายและการสื่อสาร 

 ความหมายของเครือข่าย 

     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
        ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ที่มา : http://learn.wattano.ac.th/learning/userchap11

 วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่าย 

1. เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
2. เพื่อให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ระหว่างผู้ใช้ หรือตัวประมวลผล
3. เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ ของระบบประมวลผล  โดยมีการสำรองระบบตลอดจนความซ้ำซ้อนของระบบ
4. เพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลแบบกระจายได้
5. เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากรส่วนกลาง
6. เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ที่มีความแตกต่างกัน สามารถใช้งานร่วมกันได้
ที่มา: industrial.uru.ac.th/phanuwat/file/network/01-intronetwork.ppt

 อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย การสื่อสารมีมีสาย และไร้สาย 

1.โมเด็ม (Modem)
โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัลเมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อกเมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem


2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN
เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึ่งถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

3. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

4. เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

5. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่ เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

7.  สายสัญญาณ
เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

   -   สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connectorสำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย


   -   สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45 สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ

8.  ฮับ (HUB) 
เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.  แบ่งตามขนาดพื้นที่ 
     LAN (Local Area Network) คือกลุ่มระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เช่น อาคารเดียวกัน ตึกเดียวกันเป็นเครือข่ายสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน หรือสำนักงาน 
     MAN (Metropolitan Area Network) การนำ LAN มาเชื่อมต่อกัน ทำให้ระบบเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น
    WAN (Wide Area Network) เป็นการเชื่อมต่อหลาย ๆ LAN, MAN เข้าด้วยกัน มีพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เช่นทั้งประเทศ หรือติดต่อกันระหว่างประเทศเช่นกรุงเทพฯ กับนิวยอร์กด้วยการใช้สายสัญญาณโดยเฉพาะหรือผ่านทางดาวเทียม

2.  แบ่งตามลักษณะการทำงาน
ระบบ Server-Client คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมีหน้าที่ที่ไม่เหมือนกัน โดยจะแบ่งคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Server-Client เป็น 2 ประเภท คือ

    1. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการดูแลรักษา ระบบความปลอดภัย   จัดเก็บข้อมูล  บริการทรัพยากรของเครือข่ายให้กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นคล้ายๆ  รักษากฎของกลุ่มจะเป็นผู้อนุญาตว่าใครมีสิทธิใช้ทรัพยากรใดๆ ได้บ้างและใช้ได้ในระดับไหนเป็นลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง   เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเมื่อมีความต้องการใช้ทรัพยากรของ เครือข่ายจะต้องขออนุญาตจากเซิร์ฟเวอร์เสียก่อนในเครือข่ายอาจจะมี เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว  หรือหลายเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์    ถ้าเป็นระบบเครือข่ายมีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟ เวอร์นั้นจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง    เนื่องจากต้องทำงานหนัก ต้องคอยแจกจ่ายทรัพยากรให้กับเครื่องอื่น ๆ
    2.  เครื่องไคลเอนต์ (Client) หรือ เวิร์คสเตชั่น (Workstation) เป็นคอมพิวเตอร์ในกลุ่มที่เป็นผู้ร้องขอใช้ทรัพยากรต่างๆจาก เซิร์ฟเวอร์

ระบบ Peer to Peer การทำงานของคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้  
จะไม่มีการแบ่งกลุ่มไม่มีเครื่องใดทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฐานะเท่ากันหมด เราสามารถติดต่อใช้ทรัพยากรกับเครื่อง ๆ อื่นภายในกลุ่มได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ตัวกลาง ทรัพยากรแต่ละอย่างจะถูกเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่อง   เจ้าของทรัพยากรแต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าใครในกลุ่มจะสามารถ เข้ามาใช้ทรัพยากรของเขาได้บ้าง และใช้ได้ในระดับไหนดังนั้นในระบบนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะเป็นทั้งผู้ใช้ ทรัพยากรและถูกใช้ในเวลาเดียวกันเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนคอมพิวเตอร์ไม่มาก
3. แบ่งตามสถาปัตยกรรมของเครือข่าย 
เป็นการกำหนดลักษณะและวิธีการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในเครือข่าย โดยในแต่ ละสถาปัตยกรรมจะมีฮาร์ดแวร์  และ ซอร์ฟแวร์ ที่เป็นมาตรฐานของตนเอง โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา
โทเค็นริง(Token Ring)  เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่นิยมแล้วในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานยาก มีค่าใช้จ่ายมากและมีความเร็วที่ไม่เพียงพอสำหรับการรับส่งข้อมูลในปัจจุบันซึ่งข้อมูลในระบบมี
แนวโน้มว่าจะมีขนาด ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีความเร็วสูงสุดประมาณ 16 Mbps 
อีเทอร์เน็ต (Ethernet ) เป็นสถาปัตยกรรมหรือาจเรียกว่า เป็นเทคโนโลยีของเครือข่ายที่ได้รับความนิยม ในทุกวันนี้เวลาที่ เราพูดถึง LAN เครือข่ายขนาดเล็กหรือโฮมเน็ตเวิร์คเราก็จะหมายถึงเครือข่าย แบบ Ethernet ในปัจจุบันมีอุปกรณ์   ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ สายสัญญาณต่าง ๆ มากมาย ที่สนับสนุนสถาปัตย กรรมแบบนี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีราคาถูกและสามารถทำงานได้กับวินโดวส์ทุกรุ่น

รูปร่างเครือข่าย (network topology)

รูปร่างเครือข่าย ที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน โดยบางรูปแบบมีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point) และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด (multipoint) และก่อนที่เราจะได้เรียนรู้ถึงรูปแบบต่างๆ ของเครือข่าย เราควรทราบรายละเอียดของการเชื่อมต่อการสื่อสารทั้งสองแบบเสียก่อน
POINT-TO-POINT การเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลแบบจุดต่อจุดเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียว เป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสารจึงมีการเชื่อมต่ออีกลักษณะหนึ่งเรียกว่า การเชื่อมต่อแบบหลายจุด เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้นโดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก

เครือข่ายแบบดาว (star topology)
เครือข่ายแบบดาว (star topology) เป็น การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน


เครือข่ายแบบบัส
เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมาลักษณะเป็น การเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย จะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวเรียกว่า แบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัส จึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็น  แบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน


เครือข่ายแบบวงแหวน  (ring topology)
เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกัน จนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง หรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย โดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid topology)

เครือข่ายแบบผสม(Hybridtopology)
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน


โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh topology)
เครือข่ายแบบเมซ(Meshtopology)
เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
 

องค์ประกอบพื้นฐานระบบสื่อสารข้อมูล


องค์ประกอบของการสื่อสารจะประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ
o      ผู้ส่ง ( Sender ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
o      ผู้รับ ( Receiver ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น
o      ข้อมูล ( Message ) คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการส่ง ซึ่งอาจจะเป็น ตัวหนังสือ ตัวเลข รูป เสียง หรือวิดีโอ    ( ทั้งรูปและเสียง ) หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องการส่งหรือรับ
o      สื่อกลาง ( Medium ) คือ สื่อกลางทางกายภาพที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นสื่อแบบสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชี่ยล สายไฟเบอร์ออพติก หรือสื่อแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุเลเซอร์    เป็นต้น
o      โพรโตคอล ( Protocol ) เปรียบเทียบได้กับเป็นภาษา ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ ที่ใช้ในการกำหนดวิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างทั้งสองฝั่ง ซึ่งจะกำหนดว่าอุปกรณ์ที่ใช้รับและส่งนั้นจะแปลงข้อมูลอยู่ในรูปแบบใดก่อนที่จะส่งหรือรับ และจะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้งสองฝั่งด้วยมิฉะนั้นก็จะสื่อสารได้ไม่สำเร็จถ้าหากปราศจากซึ่งโพรโตคอล อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งอาจจะติดต่อกันได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ เหมือนกับที่ฝั่งหนึ่งพูดภาษาไทยในขณะที่อีกฝั่งพูดภาษาอังกฤษก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง
ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/33/san.html

ลักษณะการโอนถ่ายข้อมูล

วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ
1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน  ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิตจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ อุปกรณ์ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย นอกจากนี้อาจมีปัญหาที่เกิดจากระดับไฟฟ้าสายดินที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง ทำให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณทางฝ่ายรับ
นอกจากแกนหลักแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ อีก เช่น บิตพาริตี ที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ (hand-shake)
2.  การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วคอยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 ดังแสดงในรูป
การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่ง ได้ 3 แบบ คือ
1. สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus)
2. สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้
3. สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน

ความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม หน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที (bps) หน่วยที่บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณใน 1 วินาที เรียกว่าอัตราบอด (baud rate) ซึ่งเมื่อนำมาคูณกับจำนวนบิตใน 1 บอด จะได้อัตราบิต (bit rate) ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ 1 ครั้ง ถ้าเขียนในรูปของสมการคณิตศาสตร์ก็จะได้
อัตราบิต (bit rate) = อัตราบอด (baud rate) x (จำนวนบิตใน 1 บอด)
ที่มา:http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/ftp/ftp.html

สัญญาณที่ใช้ในระบบการสื่อสาร

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก (Analog Transmission)
เป็นสัญญาณที่มีค่าต่อเนื่อง ซึ่งจะถูกส่งไปในรูปของสัญญาณไฟฟ้า เช่น การพูดทางโทรศัพท์


2. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Transmission)
เป็นสัญญาณที่มีค่าเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกกำหนดค่าเป็น “0” หรือ “1” เท่านั้น และมีการกำหนดรหัสเอาไว้ เรียกว่า สัญญาณพัลส์ (Puse Signal )
Modulation & Demodulation
ในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสัญญาณดิจิตอลจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณ อะนาล็อก ที่เรียกกันว่า คลื่นพาหนะ (Carrier wave) จากนั้นก็จะแปลงข้อมูลดิจิตอลจากคลื่นพาหนะเพื่อให้เครื่องรับเข้าใจข้อมูล
• การแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) ซึ่งมีวิธีเปลี่ยนหลายวิธี ได้แก่ การเปลี่ยนความถี่คลื่น การเปลี่ยน
แอพลิจูด
• การแปลงสัญญาณจากอะนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) เป็นการแปลงข้อมูลดิจิตอลออกจากคลื่นพาหนะ

ลักษณะเครือข่ายแบ่งตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ 

ลักษณะของเครือข่าย ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแงลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้

1) เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ  เช่น  บริการเว็บ  และบริการฐานข้อมูล  การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ  เช่น  การเปิดเว็บเพจ  เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ  จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก  ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง  ตัวอย่างเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ

2) เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network : P2P network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น โปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ LimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน และราคาไม่แพง ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย จึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปันเพลง ภาพยนตร์ และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ตัวอย่างเครือข่ายระดับเดียวกัน